Cool Butterfly

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15
วันพุธ ที่ 27 เมษายน 2559 เวลา 09.00 -12.00 น. (เรียนชดเชย)

เนื้อหาที่เรียน
                วันนี้อาจารย์สอนเรื่องการเขียนแผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณืเคลื่อนไหวและจังหวะ อาจารย์อธิบายรายละเอียดทุกช่อง ทำให้เข้าใจในการเขียน
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                สามารถนำความรู้ไปเขียนแผนส่งอาจารย์ และนำไปใช้เขียนแผนได้ในอนาคตค่ะ
ประเมินอาจารย์
                อาจารย์อธิบายรายละเอียดได้ละเอียดมากค่ะ และใส่ใจนักศึกษาทุกคนค่ะ
ประเมินเพื่อน
                วันนี้มีความวุ่นวายเล็กน้อย เนื่องจากแบ่งกลุ่มการเรียนค่ะ จาก 3 เซค เหลือ 2 เซค
ประเมินตนเอง

                วันนี้ตั้งใจฟังบ้าง ไม่ตั้งใจฟังบ้าง นั่งแถวหลังสุดเลยค่ะ ดราม่าเล็กน้อยตอนรู้ว่าต้องแยกกับเพื่อนในเซคค่ะ แต่ก็คงไม่มีเซคไหนที่อยากแยกกันหรอกค่ะ

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14
วันจันทร์ ที่ 18 เมษายน 2559 เวลา 12.30 – 14.30 น.
วันพฤหัสบดี ที่ 7 เมษายน 2559 เวลา 14.30 – 17.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
                ก่อนเริ่มเรียนวันนี้ ก็ขอขมาอาจารย์เบียร์กันก่อน เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ค่ะ


                วันนี้เรียนเคลื่อนไหวประกอบเพลง และเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์





การเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์สามารถใช้คำสั่งให้เด็กเคลื่อนไหวสูงๆ ต่ำๆ ไล่ระดับได้ค่ะ

                วันพฤหัสบดี เนื่องจากในวันจันทร์อาจารย์ให้จับคู่ เตรียมการสอนการเคลื่อนไหวแบบใช้อุปกรณ์ วันนี้จึงให้ออกมาทดลองสอนที่ละคู่ค่ะ




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                -การเคลื่อนไหวประกอบเพลง เพลงนั้นควรสอดคล้องกับหน่วยที่เด็กกำลังเรียนรู้
                -อุปกรณ์ที่นำมาใช้สามารถหาได้จากในห้องเรียนค่ะ
ประเมินอาจารย์
                อาจารย์ไม่ได้สอนแต่เนื้อหาในบทเรียน แต่อาจารย์ยังสอน ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการใช้ชีวิต
ประเมินเพื่อน
                เพื่อนๆตั้งใจเรียนมากค่ะ สนุกสนาน บรรยากาศไม่ตึงเครียด
ประเมินตนเอง

                ตั้งใจฟังอาจารย์ค่ะ ตอนสอนเกร็งๆค่ะ รู้สึกว่าตัวเองสอนได้ไม่ดี ตอนที่ต้องเคาะจังหวะไปด้วย และพูดไปด้วยยังรวนๆ แยกประสาทไม่ค่อยได้ค่ะ คือถ้าพูดไปด้วย จังหวะเคาะจะไม่สม่ำเสมอ

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13
วันจันทร์ ที่ 4 เมษายน 2559 เวลา 12.30 – 14.30 น.
อาจารย์สอนเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม

วันพฤหัสบดี ที่ 7 เมษายน 2559 เวลา 14.30 – 17.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
                วันนี้เรียนเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย โดยคำบรรยายของครูจะต้องสอดคล้องกับหน่วยนั้นๆ โดยครูบรรยายไปเรื่อยๆ ให้เด็กๆทำท่าตามจินตนาการของเด็กๆไปเรื่อยๆ และก่อนจะเข้าเคลื่อนไหวตามคำบรรยายต้องมีเคลื่อนไหวพื้นฐานนำก่อนเสมอ และเมื่อเคลื่อนไหวตามคำบรรยายเสร็จแล้ว ก็ผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้สอดคล้องกับกิจกรรมเคลื่อนไหวเมื่อสักครู่


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย ครูจะต้องบรรยายให้สอดคล้องกับหน่วยที่เด็กกำลังเรียนรู้
ประเมินอาจารย์
                อาจารย์ให้ทดลองสอน ทำให้เห็นข้อบกพร่อง และอาจารย์ก็ให้คำแนะนำให้แก้ไขได้ถูกต้องค่ะ
ประเมินเพื่อน
                เพื่อนๆทุกคนทำออกมาได้ดี
ประเมินตนเอง

                ทำออกมาได้ไม่ค่อยดีค่ะ ยังคิดเนื้อเรื่องให้ดำเนินไปอย่างราบรื่นไม่ได้

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12
วันจันทร์ ที่ 21 มีนาคม 2559 เวลา 12.30 – 14.30 น.
ทบทวนบทเรียน

วันพฤหัสบดี ที่ 24 มีนาคม 2559 เวลา 14.30 – 17.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
                การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง เช่น
ถ้าครูชูรูปวงกลม ให้เด็กเคลื่อนที่ไปที่มุมบล็อค
ถ้าครูชูรูปสี่เหลี่ยม ให้เด็กเคลื่อนที่ไปที่มุมหนังสือ
ถ้าครูชูรูป่ามเหลี่ยม ให้เด็กเคลื่อนที่ไปที่มุมบ้าน

                *ข้อตกลงไม่ควรเกิน 3 อย่าง เพราะจะทำให้เด็กสับสน*
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                การสร้างข้อตกลงกับเด็ก ไม่ควรเกิน 3 อย่าง และไม่ยากจนเกินไป เพราะจะทำให้เด็กสับสน ไม่เข้าใจ
ประเมินอาจารย์

                อาจารย์ให้ลงมือปฏิบัติทำให้เข้าใจและเห็นภาพจริง
ประเมินเพื่อน
                เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ ให้ความร่วมมือในการเรียน
ประเมินตนเอง
                ให้ความร่วมมือในการเรียนดีมากค่ะ

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11
วันจันทร์ ที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 12.30 – 14.30 น.
วันพฤหัสบดี ที่ 17 มีนาคม 2559 เวลา 14.30 – 17.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
                วันนี้อาจารย์ให้ทดลองสอนเป็นรายบุคคล โดยมี 3 ขั้นตอน
1.เคลื่อนไหวพื้นฐาน
2.เคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา

3.เคลื่อนไหวแบบผ่อนคลาย



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

                ได้ทดลองสอน ทำให้มีแนวเพื่อนำไปสอนในอนาคต
ประเมินอาจารย์
                อาจารย์แนะนำเทคนิค วิธีการพูด ท่าทาง การเคาะจังหวะ และให้ปฏิบัติจริงทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
ประเมินเพื่อน
                เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และทุกคนสอนได้ดีค่ะ
ประเมินตนเอง
                การใช้คำพูดในการสอนยังไม่ครบ บางคำไม่ชัดเจน อาจทำให้เด็กสับสน

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10
วันจันทร์ ที่ 7 มีนาคม 2559 เวลา 12.30 – 14.30 น.
ศึกษาค้นคว้าดนตนเอง

วันพฤหัสบดี ที่ 10 มีนาคม 2559 เวลา 14.30 – 17.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
                การเคลื่อนไหวพื้นฐาน เป็นการกำหนดสัญญาณ เพื่อให้เด็กทำตามขั้นตอน
1.ร้องเพลงเก็บเด็ก เพื่อให้เด็กมีสมาธิและตั้งใจฟัง หรือ นำเด็กร้องเพลงเกี่ยวกับหน่วยนั้นๆ
2.กำหนดข้อตกลงว่า ถ้าครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆ ก้าว 1 ก้าว ถ้าครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็กๆ ก้าว 2 ก้าว ถ้าครูเคาะรัวๆ ให้เด็กๆ เดินไปรอบๆห้องอย่างอิสระ และถ้าครูเคาะติดกัน 2 ครั้ง ให้เด็กๆหยุดอยู่ในท่านั้นทันที
                การเคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา แบบผู้นำ-ผู้ตาม
ครูและเด็กจับมือกันเป็นวงกลม และเลือกเด็ก 1 คน มากลางวง เพื่อเป็นผู้นำในการทำท่าทางให้สอดคล้องกับหนวยนั้นๆ แล้วให้เพื่อนๆทำตาม โดยครูอาจจะมีวิธีเลือกเด็กเช่น บอกเด็กว่า ครูจะเลือกเด็กที่ยืนตัวตรงที่สุด เป็นต้น
                การผ่อนคลาย มี 2 แบบ
1.ให้เด็กๆผ่อนคลายโดยการบีบนวดตนเอง หรือ นั่งเป็นแถวแล้วบีบนวดเพื่อน

2.ให้เด็กๆผ่อนคลายโดยครูเล่าเป็นเรื่องราว




การนำไปประยุกต์ใช้
                -การเคลื่อนไหว เป็นการให้เด็กแสดงท่าทางตามจินตนาการของเด็กเอง
                -เลือกใช้เทคนิคการผ่อนคลาย ให้สอดคล้องกับกิจกรรม
ประเมินอาจารย์
                อาจารย์สอนเทคนิคต่างๆ เพื่อให้นำไปใช้ได้จริงในอนาคต
ประเมินเพื่อน
                เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือดีมากค่ะ
ประเมินตนเอง
                ร่วมกิจกรรมโดยออกไปทดลองเป็นเด็ก และตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9
วันเสาร์ ที่ 5 มีนาคม 2559 เวลา 12.30 – 14.30 น.
(เรียนชดเชย วันจันทร์ ที่ 11 เมษายน 2559 เวลา 12.30 – 14.30 น.)
เนื้อหาที่เรียน
                วันนี้ทำเครื่องเคาะจังหวะจากสิ่งเหลือใช้ โดยหนูประดิษฐ์เครื่องเคาะจังหวะจากกะลามะพร้าวค่ะ


การนำไปประยุกต์ใช้
                สามารถประดิษฐ์เครื่องเคาะจังหวะจากสิ่งเหลือใช้
ประเมินอาจารย์
                อาจารย์ไม่กดดัน ทำให้บรรยากาศในการประดิษฐ์เครื่องเคาะจังหวะ ไม่ตึงเครียดค่ะ
ประเมินเพื่อน
                เพื่อนๆตั้งใจประดิษฐ์เครื่องเคาะจังหวะกันมาก ส่วนใหญ่จะทำเสร็จ และสวยงาม
ประเมินตนเอง

                ประดิษฐ์ไม่เสร็จแต่กลับมาต่อเติมที่บ้านจนสำเร็จค่ะ

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8
วันจันทร์ ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 12.30 – 14.30 น.
สอบวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพฤหัสบดี ที่ 3 มีนาคม 2559 เวลา 14.30 – 17.30 น.

ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วันพุธ ที่ 3 มีนาคม 2559
ศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
ความรู้ที่ได้รับ
                โรงเรียนอยุบาลพิบูลเวศม์ เป็นโรงเรียนประจำจังหวัด ซึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร มีโรงเรียนประจำจังหวัดทั้งหมด 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดนางนอง โรงเรียนวัดปรินายก โรงเรียนอนุบาลสามเสน และโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
                การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน มี 3 ระดับ คือ อนุบาล 3 ขวบ อนุบาล 1 และอนุบาล 2 ทั้ง 3 ระดับ มี่ทั้งหมด 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรปกติ(พ.ศ.2546) และหลักสูตร MEP โดยโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์จะสอนแบบบูรณาการ เน้นพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
                การสอนแบบ Project Approach มีโครงสร้าง คือ
1.อภิปราย คือ หาหัวเรื่องที่จะเรียน
2.ทำงานภาคสนาม คือ ศึกษานอกสถานที่
3.นำเสนอประสบการณ์ คือ ให้เด็กถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านการวาดภาพ การเชียน การทำสิ่งจำลอง
4.การสืบค้น คือ ให้เด็กได้ทดลองหาคำตอบ
5.การจัดแสดง คือ การจัดแสดงผ่านการวาดภาพหรือการเล่าเรื่องของเด็ก
                การสอนแบบ Project Approach มี 3 ระยะ คือ
ระยะ ที่ 1 คือ หาหัวเรื่อง เป็นสิ่งที่เด็กสนใจอยากหาคำตอบ
ระยะ ที่ 2 คือ ดำเนินโครงการ ค้นหาคำตอบจากแหล่งเรียนรู้ ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
ระยะ ที่ 3 คือ ทบทวนบทเรียน / ประเมินความรู้

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6
วันจันทร์ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 12.30 – 14.30 น.
ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

วันพฤหัสบดี ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 14.30 – 17.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
                ก่อนเริ่มการเรียนวันนี้ อาจารย์นำบริการสมองทั้ง 2 ซีก จากนั้นทบทวนการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแบบเคลื่อนที่ โดยการใช้สัญญาณเป็นเครื่องเคาะจังหวะ และคำสั่งจากคุณครู
ตัวอย่าง
                กำหนดข้อตกลงว่า ถ้าครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆ ก้าว 1 ก้าว ถ้าครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็กๆ ก้าว 2 ก้าว ถ้าครูเคาะรัวๆ ให้เด็กๆ เดินไปรอบๆห้องอย่างอิสระ และถ้าครูเคาะติดกัน 2 ครั้ง ให้เด็กๆหยุดอยู่ในท่านั้นทันที
                (ตอนครูบอกสัญญาณเคาะ ครูเคาะให้เด็กฟังด้วย)

                ตอนท้ายชั่วโมง อาจารย์ได้นำตัวอย่างเครื่องเคาะจังหวะที่ประดิษฐ์จากสิ่งของเหลือใช้มาให้ดู เพื่อเป็นแนวทางให้นักศึกษาประดิษฐ์


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                -การทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ครูต้องอยู่นอกวงกลม คอยเคลื่อนที่ตามเด็ก และดูเด็กๆ
                -รู้จักการนำสิ่งของเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นเครื่องเคาะจังหวะ
ประเมินอาจารย์
                อาจารย์คอยแนะนำเทคนิคการสอนให้เสมอ และนำสิ่งประดิษฐ์มาให้ดูเป็นตัวอย่าง ก่อนที่พวกเราจะต้องประดิษฐ์เอง
ประเมินเพื่อน
                เพื่อนๆตั้งใจเรียนมากค่ะ
ประเมินตนเอง
                ตั้งใจฟัง และปฏิบัติตามอาจารย์สอน

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
วันจันทร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 12.30 – 14.30 น.
วันพฤหัสบดี ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 14.30 – 17.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
                วันนี้เรียนเรื่อง สมรรถนะ ทั้ง 7 ด้านของเด็กปฐมวัย
สมรรถนะ คือ พฤติกรรมบ่งชี้ของเด็กแต่ละวัย
ตัวอย่างการเคลื่อนไหวและการทรงตัว
                อายุ 3 ปี สามารถวิ่งและหยุดเองได้
                อายุ 4 ปี สามารถเดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
                อายุ 5 ปี สามารถเดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน
ความสำคัญของสมรรถนะ

1.ทำให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู เข้าใจเด็กมากขึ้น
2.สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในแต่ละช่วงมากขึ้น
3.ขี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเหมือน “คู่มือช่วยแนะแนว”
สมรรถนะทั้ง 7 ด้าน ประกอบด้วย
1.การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย
2.พัฒนาการด้านสังคม
3.พัฒนาการด้านอารมณ์
4.พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
5.พัฒนาการด้านภาษา
6.พัฒนาการด้านจริยธรรม
7.พัฒนาการด้านการสร้างารรค์
                สรุปงานวิจัย จากสมรรถนะ จำนวน 419 ข้อ พบว่าเด็กทำได้ระดับจากง่ายไปยาก ดังนี้
1.สมรรถนะ 178 ข้อ อยู่ในระดับ ง่าย
2.สมรรถนะ 53 ข้อ อยู่ในระดับ ปานกลาง
3.สมรรถนะ 189 ข้อ อยู่ในระดับ ยาก
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้เด็ก ต้องคำนึงถึงสมรรถนะ ทั้ง 4 ด้าน ของเด็ก
ประเมินอาจารย์
                อาจารย์ไม่สบาย แต่ก็เต็มที่กับการสอน เพื่อให้นักศึกษาได้ความรู้มากที่สุด
ประเมินเพื่อน
                เพื่อนๆตั้งใจเรียน สนุกสนาน
ประเมินตนเอง
                สนุกสนาน ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์แต่ก็มีคุยกับเพื่อนข้างๆบ้าง